วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

2.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

3.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การบริหารราชการส่วนกลาง

การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

1.สำนักนายกรัฐมนตรี

2.กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง

3.ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

4.กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง

การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล

ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม

สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะสำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้

กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

(2) สำนักงานปลัดกระทรวง

(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้

ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้

(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี

(2) สำนักงานปลัดทบวง

(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม

กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้

(1) สำนักงานเลขานุการกรม

(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้

กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น

กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง

ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง

1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้

การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง

1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน

2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน

3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง

การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง

ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้

ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง


การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้

1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ

ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย

ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ

ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด

(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ

(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน

อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

1.องค์การบริหารส่วนจังหวัด

2.เทศบาล

3.สุขาภิบาล

4.ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น

ศาลชั้นต้น ได้แก่

1. ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น

2.ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี

3.ศาลจังหวัด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆ

4.ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลชำนาญพิเศษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำนาญพิเศษนั้น ๆ เช่นศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีภาษีอากรศาลล้มละลายกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลแรงงาน ศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ทั้งนี้ ในส่วนของศาลชำนาญพิเศษ บางตำราอาจจัดเป็นคนละประเภทกับศาลชั้นต้น เพราะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อันเป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง มีศักดิ์เป็นพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทของศาลยุติธรรม เขตอำนาจศาลและองค์คณะผู้พิพากษา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้

มาตรา ๓ ศาลชั้นต้น (1) สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัดมีนบุรี (ค) ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี (ง) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ (จ) ศาลแพ่งและศาลอาญา (2) สำหรับจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัด

ปัจจุบันนี้ในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีศาลจังหวัดมีนบุรีแล้ว ยังมีศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดตลิ่งชัน และศาลจังหวัดพระโขนง เพิ่มเติมขึ้นมา โดยยกฐานะจากศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน และศาลแขวงพระโขนง ให้เป็นศาลจังหวัด เนื่องด้วยเป็นการเพิ่มเขตอำนาจให้กว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับปริมาณคดีที่เพิ่มสูงขึ้นและในอนาคต อาจมีการยกฐานะศาลแขวงปทุมวัน รวมถึงศาลแขวงอื่น ๆ ให้มีฐานะเป็นศาลจังหวัดอีกด้วยส่วนศาลทหาร ไม่ใช่ศาลยุติธรรม แต่เป็นศาลชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร

ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่ อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณา พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)

ศาลฎีกามีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด

องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด

ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 11 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน โดยแผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 10 แผนก ได้แก่
- แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
- แผนกคดีแรงงาน
- แผนกคดีภาษีอากร
- แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
- แผนกคดีล้มละลาย
- แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจ
- แผนกคดีสิ่งแวดล้อม
- แผนกคดีผู้บริโภค
- แผนกคดีเลือกตั้ง
- แผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน
1 แผนกคือ
**แผนกคดีปกครอง (ภายใน)
นอกจากผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแล้ว ศาลฎีกามีกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและค้นคว้าปัญหาข้อกฎหมาย
ตลอดจนช่วยตรวจและแก้ไขปรับปรุงร่างคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความถูกต้องความรวดเร็ว และความเป็นธรรมแก่ประชาชน

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

ความสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา

การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของประเทศไทยนั้นยอมรับหลักการที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้น มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่รัฐสภา ฝ่ายบริหาร ได้แก่คณะรัฐมนตรี และฝ่ายตุลาการ ได้แก่ศาล ซึ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 องค์กรนั้น ต่างมีสถานะเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ มีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของตน แต่เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและป้องกันมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจเกินเลยจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจไว้ รัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดให้ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะการตรวจสอบถ่วงดุลควบคุมการใช้อำนาจซึ่งกันและกัน

การควบคุมคณะรัฐมนตรีโดยรัฐสภา

1. การให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก

2. การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาการกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายและชี้แจงการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อที่รัฐสภาจะได้ทราบแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี และจะได้สามารถตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีว่าเป็นไปตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือไม่

3. การตั้งกระทู้ถาม การตั้งกระทู้ถามนี้เป็นการเปิดโอกาสให้รัฐสภาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องการทำงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาที่ตนสังกัดได้ กระทู้ถามมี 2 ประเภท คือ กระทู้ถามสด เป็นกระทู้ถามในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือเป็นเรื่องที่เร่งด่วนดยสมาชิกสภาผู้แทนราฎรที่จะถามจะต้องยื่นเรื่องเสนอก่อนเริ่มประชุมในวันนั้น และ กระทู้ถามทั่วไป เป็นกระทู้ถามที่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ มีข้อความเป็นคำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายและระบุว่าจะให้รัฐมนตรีตอบในที่ประชุมสภาหรือให้ตอบในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อมีสมาชิกรัฐสภายื่นกระทู้ถามแล้ว คณะรัฐมนตรีสามารถที่จะใช้โอกาสนี้ในการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ แต่ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามนั้น แต่ด้วยเหตุที่ว่าการตั้งกระทู้ถามเป็นเรื่องที่ไม่มีผลกระทบต่อคณะรัฐมนตรีมากเท่าใดนักเนื่องจากไม่มีการลงมติ คณะรัฐมนตรีจึงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญในการตอบกระทู้ถาม เช่น ไม่มาร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อตอบกระทู้ถาม หรือตอบกระทู้ถามไม่ชัดเจนตรงประเด็น เป็นต้น ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงได้กำหนดให้เป็นหน้าที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้

4. การตั้งคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการ คือคณะบุคคลที่สภาแต่งตั้งประกอบเป็นคณะกรรมาธิการเพื่อให้พิจารณากฎหมายหรือกระทำกิจการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการแบ่งออกได้เป็น 2ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ คือ คณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาที่สภามีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการ และ คณะกรรมาธิการวิสามัญ คือคณะกรรมาธิการที่ประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นหรือไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาที่สภามีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการ

การตั้งคณะกรรมาธิการนั้นมีความสำคัญยิ่งในการทำงานของรัฐสภา เนื่องจากการตั้งคณะกรรมาธิการนั้นมักจะตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ศึกษารายละเอียดหรือสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้รัฐสภาได้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริงในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว แม้การทำงานของคณะกรรมาธิการจะมีอำนาจในการเรียกบุคคลให้มาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารที่อยู่ในความครอบครองมายังคณะกรรมาธิการ อันมีลักษณะเป็นการกระตุ้นและตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีก็ตาม แต่การควบคุมตรวจสอบคณะรัฐมนตรีโดยการตั้งคณะกรรมาธิการนี้ก็มิได้มีผลกระทบต่อคณะรัฐมนตรีเท่าใดนัก

5. การควบคุมการใช้งบประมาณแผ่นดิน การใช้จ่ายเงินงบประมาณของประเทศนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาเพื่อขออนุมัติ ซึ่งในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น รัฐสภามีอำนาจในการพิจารณาปรับลดงบประมาณแผ่นดิน หรือไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติหรือไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้หากการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา การควบคุมคณะรัฐมนตรีของรัฐสภาโดยวิธีนี้ส่งผลต่อเสถียรภาพความมั่นคงของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากหากรัฐสภาไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว คณะรัฐมนตรีย่อมไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งได้

6. การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนี้เป็นการให้อำนาจแก่รัฐสภาในการบังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีนั้นจะต้องได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร โดยจะต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยจึงจะกระทำได้ และเมื่อมีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ด้วย[ในขณะที่การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลนั้น ต้องมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีนี้ เป็นวิธีการควบคุมคณะรัฐมนตรีโดยรัฐสภาที่รุนแรงที่สุด มีผลกระทบต่อเสถียรภาพของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากหากรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีย่อมต้องพ้นจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

การควบคุมรัฐสภาโดยคณะรัฐมนตรี

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภานั้น หลักการคานอำนาจระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยป็นหลักการที่สำคัญ ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาจึงย่อมต้องถูกควบคุมตรวจสอบเช่นเดียวกัน การควบคุมรัฐสภาโดยคณะรัฐมนตรีมีมาตรการที่สำคัญ คือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร

การยุบสภาผู้แทนราษฎร เป็นศัพท์ทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง การที่ประมุขของรัฐในระบบรัฐสภา ประกาศให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาสิ้นสุดลงพร้อมกันทุกคนก่อนครบวาระ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วขึ้นกว่าวาระปกติของสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมืองพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎรก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร การยุบสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะกระทำในเวลาใดก็ได้ภายในอายุของสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะกราบบังคับทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ และในเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน60 วัน นับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร

การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยเกิดขึ้นทั้งหมด 12 ครั้ง ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในสมัยพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยนั้นมีสาเหตุหลายประการ เช่น การเกิดความขัดแย้งระหว่างคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลจนคณะรัฐมนตรีไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ และการเกิดวิกฤตทางการเมือง เป็นต้น

การยุบสภาผู้แทนราษฎรส่งผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะสิ้นสุดลงต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่แม้การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้ผลนัก แต่ก็ถือเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัดสินใจโดยวิธีการเข้ามาใหม่ วิถีทางนี้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยตามหลักถ่วงดุลหรือคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายคณะรัฐมนตรีกับรัฐสภา